กฟผ.ใช้นวัตกรรมปฏิบัติการสายส่ง ลดเวลาประหยัดค่าใช้จ่าย

posted in: Uncategorized | 0

สร้างเมื่อ วันพฤหัสบดี, 24 กันยายน 2558 09:46

 

20150924-m01-01

 

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)กองบำรุงรักษาสายส่ง ฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ นำทีมช่างสายเข้าปฏิบัติงาน Detour หรือ เบี่ยงถ่างแนวสายส่งชั่วคราว สายส่ง 230 kV. แม่เมาะ 4 – พิษณุโลก 2 เพื่อรองรับสถานีไฟฟ้าแรงสูงพรหมพิรามที่กำลังก่อสร้างใหม่ ด้วยอุปกรณ์เสาฉุกเฉิน (Emergency Restoration System) จากประเทศแคนาดา ครั้งแรกของ กฟผ. ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

 

20150924-m01-02

 

นายวิสูตร ชำนาญช่าง หัวหน้ากองบำรุง รักษาสายส่ง (กสน-ส.) ฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ (อปน.) นำทีมช่างสายในสังกัดกองบำรุงรักษาสายส่ง เข้าปฏิบัติงาน Detour สายส่ง 230 kV. แม่เมาะ 4 – พิษณุโลก 2 ด้วยอุปกรณ์เสาฉุกเฉิน (Emergency Restoration System) จากประเทศแคนาดา เพื่อรองรับสถานีไฟฟ้าแรงสูงพรหมพิรามที่กำลังก่อสร้างใหม่ ซึ่งเชื่อมต่อกับโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 90 เมกะวัตต์ ณ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา

 

20150924-m01-03

 

20150924-m01-04

 

นายวิสูตร ชำนาญช่าง กสน-ส. กล่าวว่า กองบำรุงรักษาสายส่ง (กสน-ส.) ฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ (อปน.) มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบำรุงรักษาสายส่งในพื้นที่ภาคเหนือ ให้มีความมั่นคงสามารถส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในครั้งนี้เป็นการปฏิบัติงานบริเวณสถานีไฟฟ้าแรงสูงพรหมพิรามที่กำลังก่อสร้างใหม่โดย บริษัท อี เอ โซล่า พิษณุโลก จำกัด ซึ่งเป็นสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่เชื่อมต่อกับโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 90 เมกะวัตต์ ในการจะก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงนี้ จำเป็นต้องก่อสร้างฐานรากเสาต้นใหม่จำนวน 2 ต้น ซึ่งอยู่ใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของเดิม ดังนั้นการก่อสร้างเสา 2 ต้นนี้ จำเป็นต้องมีการ Detour หรือการเบี่ยงถ่างแนวสายส่งชั่วคราว เพื่อให้การจ่ายไฟได้ปกติไม่มีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้ไฟ

“การทำงานครั้งนี้เราได้มีการพัฒนาทีมงานในการนำเสาฉุกเฉิน (Emergency Restoration System) เข้ามาใช้งาน เป็นเสาที่ซื้อจากประเทศแคนาดา นำมาใช้เป็นครั้งแรกของ กฟผ. และทำงานโดยถ่างสายออกไป 13 เมตร ซึ่งเสาฉุกเฉินนี้ไม่ต้องทำฐานราก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับ กฟผ. ได้หลายล้านบาท รวมทั้งประหยัดเวลา ในการปฏิบัติงาน พร้อมกันนี้ได้มีการฝึกซ้อมการตั้งเสาฉุกเฉินของฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ เพื่อรองรับเหตุการณ์เสาล้มที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นการสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือต่อไปในอนาคต” นายวิสูตร ชำนาญช่าง กล่าวท้ายสุด

English Version Pleases Click

Source : http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1171%3Aegatnews-20150924-01&catid=30&Itemid=112